ทัศนคติแบบไหนบ้าง ที่เป็นปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ทัศนคติแบบไหนบ้าง ที่เป็นเศรษฐกิจพอเพียง

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นการเชื่อมโยงกับศาสตร์ของพระราชา โดยจะมี 2 อย่างที่คุณควรรู้ คือ สิ่งแรก SUFFICIENCY ECONOMY PHILOSOPHY ตัวย่อว่า SEP หมายถึง จุดที่ต้องเริ่มต้นก่อนไปสู่เป้าหมาย ส่วนที่สอง SUSTAINABLE DEVELOPMENT ตัวย่อว่า SD หมายความว่า เป็นการพัฒนาให้มีความยั่งยืนที่จะทำให้ไปถึงเป้าหมาย ด้วยเหตุนี้ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงคุณสามารถนำไปใช้ในการดำรงชีวิต ซึ่งมีทั้งหมด 4 แนวคิด มีอะไรบ้าง มาดูกัน

4 แนวคิด ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

แนวคิดที่ 1 คำนึงถึงแนวคิดที่มีความถูกต้อง

การคำนึงถึงความถูกต้องเริ่มต้นจากการมีแนวคิดส่วนแรก ทางสายกลาง หมายความว่า รู้จักความพอประมาณ เช่น ค่าเช่า ไม่ควรที่จะได้กำไรมากเกินพอดี ส่วนที่ 2 มีเหตุผล หมายความว่า การที่จะตัดสินใจในการทำอะไรบางอย่าง อาจจะเป็นการทำโครงการหรือการมีนโยบาย ควรที่มีการลงทุนให้เหมาะสมกับตัวเอง ส่วนที่ 3 มีภูมิคุ้มกัน หมายความว่า ในสิ่งที่ทำ หากเกิดสิ่งที่ไม่คาดคิดจะมีการแก้ไขปัญหาอย่างไร ส่วนที่ 4 มีความรู้ในกิจการ ธุรกิจหรือโครงการ ถ้าความรู้ไม่เพียงพอควรไปค้นหาเพิ่มเติม ส่วนที่ 5 มีคุณธรรมในโครงการที่ทำอยู่

แนวคิดที่ 2 รู้จักการวิเคราะห์และมีการลงมือทำ

เริ่มต้น ส่วนที่ 1 ควรมีความเข้าใจข้อมูลก่อน จะเป็นข้อมูลที่มีอยู่แล้วไปทำการวิจัยหรือทดลองจนได้ข้อสรุป ส่วนที่ 2 มีการเข้าถึงหมายความว่าสิ่งที่ทำจะต้องตอบตัวเองจริง ๆ ไม่ใช่ไปตามกระแสของโลกหรืออาจจะเป็นการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย เช่น ลูกค้าคือใคร รวมไปถึงให้ศึกษา ฝึกฝนจนเกิดความชำนาญ ส่วนที่ 3 มีการพัฒนา ด้วยการเริ่มต้นการพึ่งพาตัวเองและเผยแพร่ความรู้เป็นการทำเพื่อสังคม ทั้ง 3 ส่วนเป็นการตอบสนองเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมและประชาชน

แนวคิดที่ 3 มีการประยุกต์ด้วยการลองผิดลองถูก

สังเกตได้จาก พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 9 ได้ทำให้ประชาชนเห็นว่า ท่านทำได้จริงทั้งหมด 4000 โครงการ เช่น โครงการแก้มลิง โครงการกังหันน้ำ โครงการเขื่อน โครงการวงแหวน โครงการหญ้าแฝก การบำบัดน้ำเสีย เกษตรส่วนผสม เป็นต้น

แนวคิดที่ 4 นำไปสู่ผลลัพธ์เป็นแนวทางในการพัฒนาอย่างยั่งยืน

หลักสำคัญในการพัฒนาอย่างยั่งยืน หรือเรียกว่า SUSTAINABLE DEVELOPMENT ตัวย่อ SD แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้เอาเงินเป็นที่ตั้ง แต่เป็นการพออยู่พอกิน มีความสามัคคีเพื่อความสุขของทุกคน หากมีวิธีคิดที่ถูกต้องก็จะมีวิธีการนำไปสู่ผลลัพธ์ถูกต้องตามมานั่นเอง

เศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่เฉพาะเรื่องเกษตรกรรมเท่านั้นแต่มีความเกี่ยวข้องกับทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิต หมายความว่า ไม่ใช่ได้ทำแต่เพียงประโยชน์อย่างเดียวแต่จะต้องมีความสุขด้วย ดังนั้นควรจดจำเอาไว้เป็นประวัติศาสตร์ ตามที่พระองค์ได้ดำรัสพระราชทานเศรษฐกิจพอเพียงในวันที่ 23 ธันวาคม 2540 เพื่อการดำเนินชีวิตตามเศรษฐกิจพอเพียงนั่นเอง

4 แนวคิด ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง