แหวกแนวความคิดเศรษฐกิจพอเพียง ที่มิใช่การเพียงพอแต่ในชนบท

แหวกแนวความคิดเศรษฐกิจพอเพียง ที่มิใช่การเพียงพอแต่ในชนบท

เมื่อสังคมและเศรษฐกิจในยุคปัจจุบันแปรเปลี่ยนไปจากในอดีต ส่งผลให้วิถีการใช้ชีวิตของคนปัจจุบันต้องเผชิญกับการแข่งขันและภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มสูงขึ้น จนทำให้นึกถึงวิถีการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ที่ทรงพระราชแนวทางการดำเนินชีวิตบนรากฐานของเศรษฐกิจพอเพียงขึ้นมาทันที

ปัจจุบันมีคนเมืองจำนวนไม่น้อยที่เริ่มหันมาให้ความสนใจกับแนวทางการดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งอันที่จริงแล้วแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้นตอนช่วงที่เศรษฐกิจย่ำแย่ แต่เกิดขึ้นมาก่อนหน้านานมากแล้ว แต่คนกลับมาให้ความสนใจและเห็นความสำคัญในช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำลงนั่นเอง

หลายคนอาจจะยังไม่เข้าใจเสียด้วยซ้ำว่า คำว่า เศรษฐกิจพอเพียง แท้จริงแล้วมันคืออะไรกันแน่ รู้แต่เพียงว่าหากทำเศรษฐกิจพอเพียงจะทำให้ตัวเองและครอบครัวยังพอมีกินมีใช้และสามารถเอาชีวิตรอดได้ จึงมุ่งหวังเพียงแต่จะหนีจากความวุ่นวายในเมืองกรุงกลับสู่ชนบทเพื่อเริ่มต้นใหม่กับคำว่าเศรษฐกิจพอเพียง แต่แท้จริงแล้วการใช้ชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงนั้นไม่จำเป็นเลยที่ต้องออกจากเมืองไปต่างจังหวัด เพราะอยู่ในเมืองก็สามารถทำได้หากมีหลักการพื้นฐาน ได้แก่

ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงได้ด้วย หลักพื้นฐาน

1. รู้จักความพอประมาณ

ความพอประมาณ คือ ความพอดีที่ไม่มากจนเกินไปและไม่น้อยจนเกินไปที่จะสามารถตอบสนองต่อความจำเป็นของพื้นฐานการดำรงชีวิต เช่น การทานอาหารที่ราคาพอประมาณกับเงินในกระเป๋า การซื้อของใช้ที่พอเพียงต่อกำลังทรัพย์ที่มี โดยไม่เดือดร้อนทั้งตัวเองและผู้อื่นในอนาคต

2. ภายใต้ความมีเหตุมีผล

เมื่อรู้จักกับความพอประมาณไปแล้วนั้น ต้องพิจารณาต่อด้วยว่าความพอประมาณที่ตัดสินใจไปแล้วนั้นสมเหตุสมผลหรือไม่ โดยต้องคำนึงถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องและผลของการพอประมาณที่จะตามมาด้วย เช่น ยอมนั่งรถโดยสารราคาถูกที่สุดไปทำงานเพื่อประหยัดเงินแต่ถึงที่ทำงานสายทุกวัน หรือยอมทานแต่บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเพื่อเก็บเป็นเงินออม แต่ก็มีผลกระทบด้านสุขภาพ เป็นต้น ซึ่งการพอประมาณคือสิ่งที่ควรกระทำ แต่หากเป็นการพอประมาณที่สร้างความเดือดร้อนให้กับตนเองหรือผู้อื่น ก็มิใช่พื้นฐานของหลักเศรษฐกิจพอเพียง

3. ต้องสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อเตรียมรับมือ

การใช้ชีวิตอยู่บนพื้นฐานของความไม่ประมาทถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อการเตรียมพร้อมรับมือกับผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต อย่างน้อยเมื่อการเปลี่ยนแปลงหรือผลกระทบนั้นมาถึง ก็จะสามารถตั้งรับมือได้อย่างทันท่วงทีและสามารถก้าวข้ามผ่านผลกระทบนั้นได้เร็วกว่าคนอื่นนั่นเอง

จะเห็นได้ว่าความคิดด้านเศรษฐกิจพอเพียงที่หลายคนฝันอยากจะมี ก็มิได้แปลความหมายว่าจะต้องมุ่งหน้ากลับคืนสู่ธรรมชาติหรือชนบทเพียงเท่านั้น แต่คำว่าเศรษฐกิจพอเพียงที่แท้จริงคือ การเพียงพอกับสิ่งที่ตนมีอยู่และการพอดีกับสิ่งที่ตนต้องการ โดยมีเหตุและผลเป็นตัวช่วยประกอบ ที่สำคัญต้องตั้งอยู่บนรากฐานที่ไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับตัวเองและผู้อื่น

ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงได้ด้วย หลักพื้นฐาน