นักธุรกิจยุคใหม่ ลงทุนแบบเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างไร

เป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่าการทำธุรกิจต้องเน้นที่ผลลัพธ์ของการลงทุนที่สูงสุด แต่หลังจากประเทศไทยประสบปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจขั้นรุนแรงอย่างต้มยำกุ้ง เมื่อปี 2540 จนมา ถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นเวลากว่า 20 ปีที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชดำรัสสอนเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง คนไทยและคนทั่วโลกก็ให้ความใส่ใจและพยายามประยุกต์หลักการนี้เข้ากับการทำธุรกิจยุคใหม่ยิ่งขึ้น โดยเศรษฐกิจพอเพียงเป็นศาสตร์ที่ประกอบด้วยสิ่งสำคัญที่เรียกว่า “สามห่วงสองเงื่อนไข” คือ

พื้นฐานสามห่วงของเศรษฐกิจพอเพียง

1.ห่วงที่หนึ่ง ความพอประมาณ เป็นการเตือนตัวเองให้ลงทุนโดยไม่อยู่บนความประมาทและความเสี่ยงที่มากเกินไป หากเป็นในอดีตจะมีคำกล่าวที่ว่า High risk High return ซึ่งจูงใจให้ทุกคนกล้าเสี่ยงแบบสุดตัว แต่สำหรับนักธุรกิจยุคใหม่ที่ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง ย่อมระมัดระวังมากขึ้น โดยอาจลงทุนเพียง 1 ใน 3 ของเงินทุน และอีก 2 ส่วนเป็นการกันเงินสำรองสำหรับยามฉุกเฉิน สมัยนี้การลงทุนทำเว็บเป็นอีกช่องทางที่ใช้เงินต่ำ กำไรสูง อาทิ ตัวแทนจำนวนสินค้าต่างๆ นอกจากนี้การศึกษาทางการตลาด ซึ่งหลักการนี้เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในสภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวนตลอดเวลาอย่างทุกวันนี้

2.ห่วงที่สอง ความมีเหตุผล การจะลงทุนหรือปรับปรุงภายในองค์กร ต้องตอบคำถามตัวเองให้ได้ก่อนว่าเหตุใดจึงต้องลงทุน เช่น จะลงทุนตกแต่งปรับปรุงเพิ่มความสวยงามภายในห้อง ตึก และสวนไม้ดอกไม้ประดับ หากการลงทุนครั้งนี้จะเป็นการปรับภาพลักษณ์ และเสริมสร้างภูมิทัศน์ อันมีส่วนช่วยให้มีลูกค้ามาใช้บริการเพิ่มยอดรายได้ของโรงแรม บ้านพักโฮมสเตย์ มากยิ่งขึ้น ก็เป็นสิ่งที่ดูสมเหตุสมผล แต่หากไม่สามารถตอบโจทย์ข้อนี้ได้ ก็ควรชะลอ แล้วนำเงินทุนและกำลังแรงไปส่งเสริมในด้านอื่นที่จำเป็นกว่า

3.ห่วงที่สาม การมีภูมิคุ้มกัน เป็นการหมั่นศึกษาตลาดการลงทุน และแนวโน้มทางเศรษฐกิจที่อาจส่งผลต่อธุรกิจที่ทำอยู่ เพื่อการปรับตัวอย่างรวดเร็วสอดคล้องตามสถานการณ์ และทำให้ลดโอกาสขาดทุนขั้นรุนแรงด้วย เช่น นักลงทุนในตลาดหุ้น นอกจากรู้เรื่องหุ้นแล้ว ยังต้องศึกษาผลิตภัณฑ์ทางการเงินชนิดอื่น ๆ ด้วย

สองเงื่อนไขของเศรษฐกิจพอเพียง

1.เงื่อนไขแรก การมีความรู้ ก่อนการลงทุนในสายงานใดก็ตาม นักธุรกิจยุคใหม่จะเริ่มจากสิ่งที่สนใจและมีความรู้พื้นฐานอยู่บ้าง หรือเข้าคอร์สศึกษาหาความรู้และฝึกฝนจนมีทักษะความชำนาญในระดับที่มั่นใจว่าสามารถต่อยอดเป็นธุรกิจได้ จึงค่อยเริ่มลงมือ

2.เงื่อนไขสอง การมีคุณธรรม เป็นพื้นฐานที่สำคัญในการทำให้ธุรกิจมีความยั่งยืน เป็นประโยชน์ทั้งในระดับบุคคลและสังคม ได้แก่ ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์สินค้าของผู้อื่น รักษาคุณภาพของสินค้าให้ดีที่สุดทั้งเครื่องอุปโภคบริโภค ให้ค่าจ้างที่เหมาะสมแก่ลูกจ้าง เป็นต้น

จะเห็นได้ว่า ศาสตร์แห่งเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักการที่นักธุรกิจยุคใหม่ทุกคนสามารถนำไปปรับใช้ได้กับทุกแขนงของการลงทุน โดยผลลัพธ์ที่ได้ย่อมเกิดขึ้นทั้งต่อองค์กรและสังคม และทำให้ลดโอกาสการล้มเหลวในธุรกิจได้อย่างมากด้วย